ดร.พิมลพรรณ เลิศล้ำ | คณาจารย์ | คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
top of page

ดร.พิมลพรรณ เลิศล้ำ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง

-

Facebook_Logo_(2019).png
email-icon-vector-circle-11549825158ieik
1490129393-rounded15_82185_edited.png

-

ดร.พิมลพรรณ เลิศล้ำ จบการศึกษาปริญญาเอกด้านวิจัยศิลปและวัฒนธรรม (การแสดงพระลักพระลามหลวงพระบาง )จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ขอนแก่นในปี 2558 ปริญญาโทด้านการบริหารจัดการวัฒนธรรม(การแสดง) จากวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2545และปริญญาตรีด้านนาฏศิลป์และการละคร จากสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาในปี 2543 มีประสบการณ์การกว่า 10 ปีในการเป็นนักแสดงในละครเวทีร่วมสมัย ร่วมกับคณะละครและศิลปินในเครือข่ายละครกรุงเทพ การจัดการแสดงแสงสีเสียงและงานอีเว้นต่างๆ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการด้านศิลปะการละครที่ใช้สนใจศึกษาด้านการละครประยุกต์ที่สามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาสตร์การเคลื่อนไหวและการทดสอบสรรถภาพทางกีฬา ศาสตร์ทางทะเล โดยผลิตละครประยุกต์กับศาสตร์ความรู้ต่างๆให้กับชุมชนและกลุ่มคนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อใช้ละครเป็นตัวเชื่อมระหว่างคนกับองค์กร หรือคนกับปัญหา รวมถึงการสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการประยุกต์ใช้ศาสตร์ด้านการละครในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ขอบเขตงานวิชาการที่เชี่ยวชาญและสนใจ

การสร้างสรรค์การแสดงในการสร้างความเข้มแข็งชุมชน และการใช้ศิลปะการเล่าเรื่องในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม

ผลงานทางวิชาการ ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2563 - 2567) ข้อมูลจากระบบ E-Research Buu

งานวิจัย
รณชัย รัตนเศรษฐ, พิมลพรรณ เลิศล้ำ, และพิทักษ์ สูตรอนันต์. (2565). การถอดบทเรียนองค์ความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออก สู่ฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีพ: กรณีศึกษาคณะเพลงลำภาวัดบางปรือ จังหวัดตราด. วารสารดนตรีรังสิต, 17(1), 104-120.

Lertlam, P. (2020). Awareness raising of marine biodiversity and plant genetic diversity through drama process. Journal of engineering and applied sciences, 15(7), 1659-1663.

บทความทางวิชาการ
พิมลพรรณ เลิศล้ำ. (2566). “ปราสาทโฮงนางสีดา” (Hong Nang Sida) พื้นที่ทับซ้อนทางเวลาของนางสีดา.หนังสือรวมบทความทางวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ลาว-ไทย มกรดกล้านช้าง 6. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (หน้า 207-215) ISBN 978-616-438-848-2.

bottom of page