ดร.ธนะรัชต์ อนุกูล | คณาจารย์ | คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
top of page

ดร.ธนะรัชต์ อนุกูล

อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี

-

Facebook_Logo_(2019).png
email-icon-vector-circle-11549825158ieik
1490129393-rounded15_82185_edited.png

-

ดร.ธนะรัชต์ อนุกูล จบการศึกษา ปริญญาตรี ปีพ.ศ. 2540 ที่ ภาควิชาดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ เครื่องมือเอกเปียโน เครื่องมือโท ทรัมเปตแจ๊ส
- ปริญญาโท พ.ศ.2543 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาดนตรีวิทยา(Musicology)
- ปริญญาเอก พ.ศ.2558 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชาการบริหารจัดการด้านดนตรี

เคยทำงานเป็นครูสอนเปียโนในสถาบันดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาภาพยนตร์ คณะสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง นักประพันธ์เพลงประกอบละครและโฆษณา รายการวาไรตี้ บริษัทอินดี้คาเฟ่ บริษัท ThemeP418Potent.Co., Ltd. เป็นศิลปินชุดแรกของค่าย Love is เป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 บรรจุเป็นอาจารย์ประจำเมื่อปี พ.ศ. 2550 ประธานหลักสูตรปีพ.ศ. 2560 ปัจจุบันประธานสาขาวิชาดนตรี ภาระการสอน วิชาเรียบเรียงเสียงประสาน วิชาทรัมเปตแจ๊ส วิชาคอนเสิร์ต วิชาการผลิตผลงาน วิชาธุรกิจดนตรีเบื้องต้น วิชาเทคโนโลยีด้านดนตรี

ขอบเขตงานวิชาการที่เชี่ยวชาญและสนใจ

1. การวิจัยด้านดนตรี Musicology research ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ชุมชน และวัฒนธรรม
2. การใช้เทคโนโลยีด้านดนตรีในการวิจัย
3. การบริหารจัดการด้านดนตรี การแสดงดนตรี

ผลงานทางวิชาการ ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2563 - 2567) ข้อมูลจากระบบ E-Research Buu

งานวิจัย
จันทนา คชประเสริฐ, ธนะรัชต์ อนุกูล, และจันทรา เนินนอก. (2566). การศึกษาเสียงวรรณยุกต์และเทคนิคการออกคำร้องในการขับร้องเพลงไทย. วารสารดนตรีและการแสดง, 9(1), 32-44.

สหภพ มีแก้ว และธนะรัชต์ อนุกูล. (2566). การสร้างสรรค์ผลงานทางเทคโนโลยีดนตรีจากความสอดคล้องระหว่างเสียงและ ชีวิตประจำวัน “คีย์แคป”. วารสารดนตรีและการแสดง, 9(1), 22-31.

ธนะรัชต์ อนุกูล. (2563). ระบบเสียงดนตรีไทยกับการขับร้องเพลงไทยเดิม. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 19(1), 195-214.

บทความทางวิชาการ
จันทนา คชประเสริฐ และธนะรัชต์ อนุกูล (2565). ทศวรรษใหม่ในการเรียนดนตรี : ก้าวไปด้วยความเสมอภาค…(ของการจัดการ). วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ, 3(2), 21-37.

bottom of page