แผนยุทธศาสตร์ | คณะดนตรีและการแสดง
top of page

MUPAStrategy

         จากการประเมินสภาพแวดล้อมทางการบริหาร รวมทั้งการคาดการณ์แนวโน้มการดำเนินงานในอนาคตคณะ ฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์และกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานระยะ 5 ปี คือ ระหว่างปีงบประมาณ 2559 ถึงปีงบประมาณ 2563 โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพทางวิชาการ และการวิจัยของคณะฯ  ประเด็นดังกล่าวนี้ สามารถแจกแจงรายละเอียดได้ ดังนี้

1. ทิศทางการพัฒนา

         ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของคณะ ฯ ในช่วงปีงบประมาณ 2559 - 2563 มุ่งเน้นความสำคัญในเรื่องการยกระดับคุณภาพของการวิจัย งานสร้างสรรค์ การจัดการเรียนการสอนและวิชาการเป็นหลัก เพื่อให้มีความสอดรับกับวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนด ไว้

         เป้าประสงค์สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ จึงเป็นไปเพื่อตอบโจทย์ของการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศ ขณะที่ผลงานทางวิชาการและวิจัยที่เกิดขึ้น จะนำมาใช้เป็นองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อการพัฒนาต่อยอด ทั้งในส่วนของการทำวิจัย การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการให้บริการทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนควบคู่ไปกับชุมชน จากแนวทางการดำเนินงานที่กำหนด คณะ ฯ ได้พัฒนายุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อให้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดในส่วนถัดไป

         เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์บรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้คณะกรรมการบริหารคณะ ฯ ได้ประชุมระดมความคิดเห็น พร้อมทั้งกำหนดบทบาทของฝ่ายงานทั้ง 3 ส่วน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

          1. สำนักงานคณบดี - ฝ่ายบริหาร มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการวางแผน การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใน ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลและกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัยฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงานและการพัฒนาของฝ่ายงานต่างๆ

          2. สำนักงานจัดการศึกษา - ฝ่ายวิชาการ มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันการพัฒนา คุณภาพทางวิชาการของคณะ ฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์  การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน     การพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยและวิชาการ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยทั้งภายใน  และภายนอกมหาวิทยาลัยฯ    เป็นต้น

         3. ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวัฒนธรรมและศิลปะ - ฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาวิชาชีพ และฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและกิจการพิเศษ มีบทบาทหน้าที่ในการวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดขอบเขต ขั้นตอน รูปแบบ วิธีดำเนินงาน และระยะเวลาการดำเนินงานโครงการจัดทำแผนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ ตลอดจนกำหนดวิธีการและกระบวนการปฏิบัติงาน การสั่งการ การประสานงาน การควบคุม และติดตามประเมินผล  อีกทั้งยังมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่สังคม    ประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอก ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาคณะดนตรีและการแสดงดังนี้

                   1. พัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในระดับปริญญาโท และเอก ด้วยการจัดการเรียนรู้ให้ผู้ศึกษา เป็นนักปฏิบัติการที่มีมาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

                   2. พัฒนาคณาจารย์ให้มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ และตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น

                   3. พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศทางด้านดนตรีและการแสดง เพื่อเผยแพร่ผลงานทั้งงานวิจัย การแสดงสู่สาธารณชน

                   4. สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ

                   5. พัฒนาโครงการดนตรีและการแสดงสำหรับบุคคลทั่วไป และบริการธุรกิจด้านรับจัดงานและการแสดงให้เป็นหน่วยธุรกิจภายในคณะ ฯ เพื่อสร้างรายได้

                   6. ยกระดับผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านดนตรีและการแสดง และวัฒนธรรมจากรากฐานวิถีไทย

                   7. จัดสรรงบประมาณและจัดหาทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพการวิจัยภายใต้การบริหารงานของศูนย์วิจัย ฯ

                   8. สร้างและพัฒนาให้ชุมชนและสังคมตระหนักและมองเห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและบทบาทของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

                   9. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้เป็นช่องทางเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานวิชาการ

                 10. พัฒนาระบบบริหาร จัดการ และการพัฒนาบุคลากร โดยเน้นการบริหารองค์กรแบบมีส่วนร่วมการกระจายอำนาจ

                 11. พัฒนาระบบการบริหารองค์กรของคณะ ฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งสำนักงานคณบดี สำนักงานจัดการศึกษา  และศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวัฒนธรรมและศิลปะ

                 12. พัฒนาบุคลากรฝ่ายสนับสนุนให้มีศักยภาพ และทำงานประสานกับคณาจารย์ได้อย่างดีและเป็นมืออาชีพ

                 13. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

                 14. เพิ่มศักยภาพการประชาสัมพันธ์และการตลาดด้านหลักสูตร และการจัดการแสดงต่อสาธารณชน

                 15. จัดสรรพื้นที่สำหรับการเรียนการสอน โดยเฉพาะการฝึกปฏิบัติและสถานที่แสดง และบริเวณอาคารที่มีความ สวยงาม สามารถเรียน และทำงานอย่างมีความสุขและเอื้อต่อประโยชน์ของผู้ใช้

                 16. จัดหางบประมาณและดำเนินการก่อสร้างอาคารคณะดนตรีและการแสดง

                 17. วางรากฐานการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาไปสู่ “Center of Performing Arts” สามารถรองรับการแสดงจากทั่วโลก

                 18. ส่งเสริมสวัสดิการให้กับนิสิต และบุคลากรให้ทำงานด้วยความสุข และเจริญก้าวหน้าในสายวิชาชีพ

                 19. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับมหาวิทยาลัย และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยบูรพา

          4.  การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง พึ่งพาตนเองได้

          เพื่อให้คณะ ฯ สามารถดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม คณะ ฯ จึงปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารองค์การ ด้วยการสร้างและพัฒนาระบบการบริหารองค์การด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  และมุ่งเน้นการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียม และโอกาสในการพัฒนาของทุกคนในองค์การ ดังนั้นคณะจึงพัฒนาระบบการบริหารงานด้วยหลัก “องค์การอัจฉริยะ” นำมาเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในรูปแบบ “Working and Collaborating Organization”  เพื่อให้บุคลากรของคณะดนตรีและการแสดงปฏิบัติงานด้วย “ความสุข  สนุกสนาน และนำปัญหาเป็นแรงบันดาลใจ”

          นอกจากนั้นคณะ ฯ  ยังได้ดำเนินการและวางแผนเพื่อพัฒนาหน่วยธุรกิจภายในคณะ เพื่อจัดหารายได้สร้างความยั่งยืนพึ่งพาตัวเองได้ ดังนี้

                    1. โครงการบริการวิชาการดนตรีและการแสดงสำหรับบุคคลทั่วไป

                    2. โครงการบริการธุรกิจและอุตสาหกรรมบันเทิง

           5. การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของคณาจารย์และนิสิตด้วยการพัฒนาองค์การจัดการศิลปะภายในคณะ (Company in Wall) เพื่อฝึกการบริหารจัดการองค์การ  การสร้างสรรค์ การวิจัย โดยมีองค์การจัดการศิลปะภายในคณะดนตรีและการแสดงดังนี้

                    1. Burapha University Wind Symphony

                    2. Burapha University Chorus

                    3. Burapha University Jazz Orchestra

                    4. MUPA Chorus

                    5. MUPA Company of the Arts

                    6. Bangsaen Youth Ballet

                    7. Burapha Clarinet Ensemble

                    8. ASEAN Young Composer Network

                    9. MUPA Theatre for the Youth

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา

         จากที่กล่าวมาข้างต้น คณะ ฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพทางวิชาการและวิจัยให้ เป็นที่ยอมรับในระดับสากลตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยสามารถแสดงได้ตามแนวทางยุทธศาสตร์ต่อไปนี้

         ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างและพัฒนาบัณฑิตด้านดนตรีและการแสดงบนรากวิถีไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

         ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านดนตรีและการแสดงบนรากวิถีไทยในระดับนานาชาติ

         ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีสมรรถะในระดับสากล

         ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมด้วยศิลปะและวัฒนธรรม

         ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการบริหารองค์การให้เข้มแข็งและยั่งยืน

bottom of page