MUPA | เกียวกับคณะ
top of page
หัตถกรรมกระดาษ
BUU + MUPA.png

“ขุมปัญญาดนตรีและการแสดงคู่ชุมชนภาคตะวันออก”

ความเป็นมา

            คณะดนตรีและการแสดง  มหาวิทยาลัยบูรพา  จัดตั้งเป็นส่วนงานตามมาตรา ๙ (๓) ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๕๐  มีภาระหน้าที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา วิจัย บริการวิชาการ  ด้านดนตรีและการแสดง ตลอดจนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม   โดยแยกสาขาดนตรีและการแสดงออกจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ และยุบเลิกส่วนงาน “สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ” มาเป็นหน่วยงานภายในกำกับของคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

            สาขาวิชาดนตรีและการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์  มีปรัชญาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านทฤษฎี และปฏิบัติ เป็นนักจัดการสามารถสร้างงานได้ด้วยตนเอง และมีโลกทัศน์ทางวัฒนธรรมที่กว้างไกล ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๖ เริ่มพัฒนาจากหลักสูตรดุริยางคศาสตร์ ดนตรีไทยและสากลให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถออกไปรับใช้สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๔๘  จึงปรับปรุงหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อจากสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ เป็น สาขาวิชาดนตรีและการแสดง ประกอบด้วยวิชาเอกดนตรีไทย ดนตรีสากล การแสดงและการกำกับการแสดง และนาฏศิลป์ไทยและการกำกับลีลา ซึ่งนับเป็นเพียงการเริ่มต้นศึกษา ค้นคว้า ทดลองการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถรับใช้สังคมได้อย่างแท้จริง มุ่งให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ สำหรับสถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยบูรพา  ได้รับการจัดตั้งขึ้นภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน และภาระหน้าที่ของส่วนงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้บัญญัติให้สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานและดำเนินการ ด้านการวิจัยทางวัฒนธรรมและศิลปะ ให้บริการวิชาการ เผยแพร่ความรู้  และทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะ มีหน่วยงาน ภายใน คือ  ๑) สำนักงานผู้อำนวยการ  ๒) ฝ่ายวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ  ๓) ฝ่ายส่งเสริมวัฒนธรรมและศิลปะ

            จากโครงสร้างองค์การและภารกิจหลัก  เห็นได้ว่าในส่วนของภารกิจหลักมีส่วนที่สัมพันธ์กันมาก โดยเฉพาะด้านการทำนุบำรุงศิลปะและ วัฒนธรรม  ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้มีแนวนโยบายในการดำเนินการจัดตั้งคณะดนตรีและการแสดงขึ้น โดยยกฐานะสาขาวิชาดนตรีและการแสดง  คณะศิลปกรรมศาสตร์  และรวมสถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ จัดตั้งขึ้นเป็นคณะดนตรีและการแสดง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อให้ภารกิจหลักด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย การจัดตั้งคณะดนตรีและการแสดง สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดนตรีและการแสดง มุ่งให้ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการ และสร้างงานได้ด้วยตนเอง พร้อมมีคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยโลกทัศน์ทางวัฒนธรรมที่กว้างไกล  สามารถเพิ่มรายได้เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้วยจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัยบูรพาต้องการขยายโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ดังนั้นคณะดนตรีและการแสดงจึงนำแนวคิดนี้เพื่อพัฒนาองค์การด้วย “ศิลปภิวัตน์” หรือ“การสร้างสรรค์” ที่พัฒนามาจากรากทางวัฒนธรรมไทย (Innovation from Tradition)  ด้วยเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมในทุกๆ มิติ โดยเฉพาะมนุษย์ และสร้างภูมิคุ้มกันแก่สังคม จึงมีแนวทางในการเรียนการสอน การวิจัย การสร้างสรรค์การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมพัฒนานิสิตที่เน้นการทำงานเป็นทีมและสร้างสรรค์ผลงานสู่สาธารณชน นอกจากนั้นยังสามารถกำกับดูแลการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยบูรพาอย่างครอบคลุมในทุกๆ ด้าน เพื่อสร้างคุณภาพ สร้างปัญญาให้แผ่นดิน ด้วยคุณภาพการศึกษาระดับสากล พร้อมนำพาสังคมไทยสู่สังคมอุดมปัญญาที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
   

ความเป็นมา

ศิลปภิวัตน์จากรากเหง้าสร้างมรดกชาติและปัญญา

ปรัชญา

ปรัชญา
หัตถกรรมกระดาษ

“ขุมปัญญาดนตรีและการแสดงคู่ชุมชนภาคตะวันออก”

          คณะดนตรีและการแสดง โดยความเห็นชอบของบุคลากร ได้กำหนดวิสัยทัศน์ขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานของคณะฯ ในช่วงระยะเวลา ๓ ปีข้างหน้า (ระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ถึง ปีงบประมาณ ๒๕๖๗) จากวิสัยทัศน์ข้างต้น สามารถอธิบายสาระสำคัญของจุดมุ่งหมายได้ ดังนี้
          “ขุมปัญญาดนตรีและการแสดง” หมายถึง ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านดนตรี การแสดงและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่ร่วมพัฒนาท้องถิ่นตะวันออกด้วยงานวิจัย งานสร้างสรรค์  งานวิชาการ  ที่มีคุณภาพสามารถเชื่อมโยงคน องค์กร ชุมชนภาคตะวันออก และประเทศ
          “คู่ชุมชนภาคตะวันออก” หมายถึง  เรียนรู้ อนุรักษ์  สืบสาน ต่อยอดองค์ความรู้รากวิถีวัฒนธรรมให้คงอยู่  ทันสมัย  สามารถเชื่อมโยงกับชุมชน  สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลง   และสร้างคุณค่า  เพิ่มมูลค่าแก่ชุมชน

วิสัยทัศน์
หญิงนักเต้น

พันธกิจ
          จากวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการวิจัยและวิชาการ  คณะฯ  ได้กำหนด
พันธกิจหลักภายใต้ภารกิจที่ต้องดำเนินการทั้ง ๕ ด้าน ประกอบด้วย  

 

(๑) วิชาการและการเรียนการสอน  
(๒) การวิจัยและงานสร้างสรรค์  
(๓) การบริการวิชาการแก่สังคม  
(๔)  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  
(๕)  การพัฒนาคณะ ฯ ให้เข้มแข็งมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงและพึ่งตนเองได้

พันธกิจ
ผู้ชมในคอนเสิร์ต

เป้าประสงค์วิสัยทัศน์

๑. ผลิตบัณฑิต และบุคลากร ด้านการอนุรักษ์พัฒนา สร้างสรรค์วัฒนธรรมของชาติ
๒. พัฒนาคุณภาพงานวิชาการด้านดนตรีและการแสดงที่ตอบสนองชุมชน
๓. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมด้วยดนตรีและการแสดง
๔. พัฒนาระบบบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์

ค่านิยมหลัก

          คณะฯ ได้กำหนดค่านิยมหลักเพื่อใช้ในการส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรของคณะฯ เกิดความตระหนักรู้ร่วมกันในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพทางวิชาการและวิจัยของคณะฯ ต่อไปในอนาคต โดยค่านิยมหลักของคณะฯ ประกอบด้วย ๔ ประการสำคัญ ดังนี้


M : Merit
          บุคลากรของคณะดนตรีและการแสดง ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตนอยู่บนพื้นฐานของ
หลักธรรมาภิบาล คุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณในวิชาชีพ และมีจิตสาธารณะ


U : Unity
          บุคลากรของคณะดนตรีและการแสดง มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม  ยึดมั่นในหน้าที่และความรับผิดชอบ


P : Professional
          บุคลากรของคณะดนตรีและการแสดง ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ รอบรู้ และเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือได้รับมอบหมาย ด้วยระบบการวางแผน การบริหารจัดการที่มีคุณภาพ  รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด 


A : Artistry
          บุคลากรของคณะดนตรีและการแสดง ต้องเป็นผู้ที่มีความปรารถนาที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งมีความปรารถนาที่จะพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานของคณะฯ ให้เจริญก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ค่านิยมหลัก

"สุข สนุก นำปัญหาเป็นแรงบันดาลใจ"

อัตลักษณ์
bottom of page